ยาแก้ไอเด็ก รูปปก
ยาแก้ไอเด็ก รูปปกPC

ยาแก้ไอเด็ก ที่ควรต้องมีติดบ้าน รู้ก่อนใช้ปลอดภัยแน่นอน

ยาแก้ไอเด็กเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการไอขับเสมหะในเด็ก ซึ่งแบ่งออกเป็นยาแก้ไอเด็กไม่มีเสมหะ และยาแก้ไอเด็กสำหรับการขับเสมหะ ซึ่งสามารถใช้งานในเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจนถึง 6 ปีได้โดยไม่เป็นอันตราย โดยสารประกอบภายในตัวยานั้นมีการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วว่าใช้ได้กับเด็ก ไม่มีผลข้างเคียง และมีความปลอดภัย ดังนั้นถ้าคุณกำลังมองหายาแก้ไอเด็กหรือค้นหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับสรรพคุณและวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง และข้อมูลมากมายที่จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านได้อย่างแน่นอน

หัวข้อแนะนำ

สรรพคุณข้อดีของยาแก้ไอเด็ก ช่วยอะไรบ้าง พร้อมข้อเสียที่เป็นผลกระทบ

ยาแก้ไอเด็กหนึ่งและยาสามัประจำบ้านที่ทุกคนต้องมีติดบ้านเอาไว้ ซึ่งมีสรรพคุณทั้งข้อดีและข้อเสียที่เป็นผลกระทบต่อร่างกาย ดังนั้นแล้วการที่คุณจะเลือกใช้ยาแก้ไอเด็ให้กับลูกน้อยของคุณ จะต้องมีความละเอียดรอบคอบและรู้ถึงสรรพคุณทั้งข้อดีและข้อเสียก่อนดังนี้

สรรพคุณข้อดีของยาแก้ไอเด็ก ช่วยอะไรบ้าง พร้อมข้อเสียที่เป็นผลกระทบ

ข้อดี

สรรพคุณของยาแก้ไอเด็กที่จะช่วยได้หลักเลยจะมีดังนี้

  • ช่วยรักษาอาการไอ จาม เป็นหวัดมีน้ำมูก
  • ช่วยลดการระคายเคืองคอ หวัดลงคอ
  • ช่วยในการขับเสมหะได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม 
  • ช่วยในเรื่องการนอนหลับ ให้หลับง่ายขึ้น

และเพิ่มเติมสำหรับคุณข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในการใช้ยาแก้ไอเด็กคืออาการง่วงซึม หากรับประทานในปริมาณตามแพทย์สั่ง ตัวยานี้จะช่วยในเรื่องของการพักผ่อนได้อีกด้วย

ข้อเสีย

ข้อเสียของการใช้ยาแก้ไอเด็กทั้งแบบมีเสมหะและไม่มีเสมหะ คือผลข้างเคียงของการใช้ยาที่อาจจะตามมาได้

  • อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ยามีผื่นคัน
  • การหายใจลำบาก หายใจไม่ทั่วท้อง
  • อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวอยากนอน
  • อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ทำให้ปวดท้องหรือท้องเสีย

ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ยากแต่ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะไม่เกิดขึ้นหากรู้ตัวว่าผิดปกติหรือมีอาการร้ายแรง ให้รีบไปพทแพทย์ทันที

ยาแก้ไอเด็กวิธีเลือกใช้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยต่อร่างกาย

สำหรับการเลือกใช้ยาแก้ไอเด็กให้ถูกต้องและปลอดภัยต่อเด็กน้อยเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เนื่องจากยาแก้ไอของเด็กนั้นไม่สามารถใช้รวมกับของผู้ใหญ่ได้ ดังนั้นในการเลือกใช้คุณจะต้องพิจารณาหลักการ ซึ่งอันดับแรกขอแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์หรือเภสัชชกรเพื่อวินิจฉัยอาการไอเบื้องต้นว่าจัดอยู่ในประเภทใด ไอแบบมีเสมหะหรือไม่มีเสมหะเพื่อเลือกใช้ตัวยาที่ถูกต้อง นอกจากนี้คุณจะต้องเลือกใช้ยาแก้ไอในปริมาณที่เหมาะสมตามน้ำหนักและอายุของเด็ก 

อีกทั้งต้องสังเกตอาการหลังจากรับประทานไปแล้วว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยถ้าพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติ เช่น มีผื่นคันหายใจลำบาก มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ้าเจออาการในลักษณะนี้เป็นไปได้ว่าอาจเกิดการผิดปกติด้านการแพ้ยาแก้ไอเด็ก ให้คุณรีบพาพบแพทย์ในทันทีถ้าเกิดอาการเหล่านี้

เมื่อมีอาการไอเรื้อรัง หรือมีเสมหะ มีวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้นอย่างไร?

หากเด็กน้อยมีอาการไอไม่ว่าจะเป็นเรื้อรังหรือเฉียบพลันพร้อมทั้งมีเสมหะร่วมด้วย การใช้ ยาแก้ไอเด็ก นับว่าเป็นตัวช่วยอย่างแรกที่จะรักษาอาการเหล่านี้เบื้องต้นได้ตรงจุด แต่ถึงยังนั้นคุณจะต้อง มีวิธีการดูแลรักษาร่างกายเบื้องต้นดังนี้ควบคู่ไปด้วย

  • ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย7 ถึง 8 ชั่วโมงในแต่ละคืนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีฝุ่นละอองที่ส่งผลให้เกิดการไอ
  • ดื่มน้ำอุ่นช่วยขับเสมหะและบรรเทาอาการไอได้ชั่วขณะ

แนะนำยาแก้ไอเด็กที่ต้องซื้อเตรียมไว้เพื่อยามฉุกเฉิน

ยาแก้ไอเด็กถือเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมีติดบ้านเอาไว้ซึ่งอยู่ในรูปแบบของยาน้ำไซรัปจะดีกว่ายาเม็ด เพราะเด็กน้อยจะรับประทานได้ง่ายมากกว่านั่นเอง ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำยาแก้ไอเด็ก ยี่ห้อไหนดีที่สุดที่ควรซื้อติดบ้านไว้ ดังต่อไปนี้

  1. ยาแก้ไอเด็ก 4 ขวบละลายเสมหะ ยู อี คอฟ
  2. ยาแก้ไอเด็ก 7 ขวบ Mr.Herb
  3. ยาแก้ไอเด็ก Mucosolvan
  4. ยาแก้ไอเด็ก Solmax

นอกจากนี้ยังมียาแก้ไอเด็กอีกหลากหลายยี่ห้อ ดังนั้นซื้อเก็บไว้มียามฉุกเฉินดีกว่าไม่มี สำหรับบ้านไหนที่มีเด็กถือเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมีติดตู้เอาไว้

ยาแก้ไอเด็กเลือกอย่างไรให้ปลอดภัย และเหมาะกับเด็กน้อย

ยาแก้ไอเด็กเลือกอย่างไรให้ปลอดภัย และเหมาะกับเด็กน้อย

การเลือกซื้อ ยาแก้ไอเด็กให้ใช้อย่างปลอดภัยสำหรับลูกน้อย ไม่ใช่แค่การดูจากโฆษณาอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่คุณจะต้องเลือกซื้อยาแก้ไอให้ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยและการใช้งานอย่างเห็นผลได้จริง ดังนั้นเราขอแนะนำปัจจัยการเลือกซื้อยาแก้ไอดังนี้

  • เลือกซื้อยาแก้ไอให้เหมาะกับช่วงอายุและน้ำหนักของเด็ก
  • ให้เภสัชหรือแพทย์วิเคราะห์อาการและเลือกซื้อยาแก้ไอที่ตอบโจทย์
  • คำนึงถึงปัจจัยการแพ้ยาเพิ่มเติมของเด็กร่วมกับการซื้อ
  • ไม่ควรใช้ยาแก้ไอกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบ
  • ถ้ามีอาการไอรุนแรงถึงขั้นมีเลือดควรพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาใช้เอง

เมื่อดื่มยาแก้ไอเด็กแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรทำอย่างไร

ใช้ยาแก้ไอเด็กอย่างดี ก็แล้วยังไม่หาย หรืออาการยังไม่ดีขึ้นเลยแม้แต่น้อย ควรหยุดยาที่ดื่มแล้วไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคอื่นเพิ่มเติมหรือรับยาอื่นร่วมด้วย ไม่ควรปล่อยให้อาการหนัก เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการช็อกจนสติได้ในเด็กบางราย

สรุป

สำหรับครอบครัวไหนที่มีลูกน้อยอยู่ที่บ้าน หรือต้องการความรู้เกี่ยวกับ ยาแก้ไอเด็ก โดยทางเราได้รวบรวมข้อมูลต่างๆมาไว้ให้แล้วที่นี่ เพื่อเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นวิธีใช้ที่ถูกต้องอย่างปลอดภัย รวมไปถึงข้อดีและข้อเสียต่างๆ และก็ยังมียาแก้ไอเด็กที่แนะนำควรมีไว้ติดบ้านอีกด้วย ทางเราหวังว่าบทความเหล่านี้จะเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกคน หากมีข้อมูลที่ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

Scroll to Top